ตลาดซื้อ-ขายเกี่ยวกับเราโปรโมชันบทความ
เข้าสู่ระบบ
English/THB
blue triangle

กฎหมาย & ความเป็นส่วนตัว

เกี่ยวกับกฎหมายและความเป็นส่วนตัว

เกี่ยวกับเรา

ข้อมูลบริษัทบทสรุปผู้บริหารรางวัลและข้อปฏิบัติงบการเงินทีมของเรา

ผลิตภัณฑ์

ออร์บิกซ์ แอปข้อมูลผลิตภัณฑ์ข้อมูลเหรียญเงื่อนไขการซื้อขายและ ค่าธรรมเนียม

เกี่ยวกับบริการ

ดาวน์โหลดข้อตกลงและเงื่อนไขประกาศความเป็นส่วนตัวนโยบาย AML/CTPFนโยบายการใช้คุกกี้หลักเกณฑ์การจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องหลักเกณฑ์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหลักเกณฑ์การคัดเลือก/เพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลตรวจสอบใบอนุญาตจาก กลต.

ศูนย์ช่วยเหลือ

คำถามที่ถามบ่อยข้อมูล APIการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนช่องทางการติดต่อข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เกี่ยวกับเรา

ผลิตภัณฑ์

เกี่ยวกับบริการ

ศูนย์ช่วยเหลือ

กลุ่มและสื่อออนไลน์

ฝ่ายบริการลูกค้า โทร (+66)20266107 (ให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 19.00 น.) | © 2017 - 2025 orbixtrade.com ขอสงวนสิทธิ์ทุกประการ | เวอร์ชั่น. v1.17.0

เราใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ orbixtrade เพื่อปรับปรุงและปรับแต่งประสบการณ์การท่องเว็บของคุณ
การคลิก “ยอมรับทั้งหมด” แสดงว่าคุณยอมรับการใช้คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการตลาด ตามที่อธิบายไว้ใน ประกาศการใช้งานคุกกี้ของเรา
หากต้องการปฏิเสธคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และการตลาด ให้คลิก “ปฏิเสธคุกกี้ทางเลือก” หรือหากต้องการตั้งค่าคุกกี้ของคุณ ให้คลิก “ปรับแต่งคุกกี้”

นโยบายการป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (“AML/CTPF”)

1. วัตถุประสงค์

บริษัท ออร์บิกซ์ เทรด จำกัด (“บริษัท”) มีความมุ่งมั่นในการป้องกันมิให้บริษัทเป็นแหล่งของการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง การฉ้อโกง และการทุจริตในทุกรูปแบบซึ่งจะมีผลกระทบต่อบริษัททั้งในด้านชื่อเสียง ภาพลักษณ์และความมั่นคงของบริษัท บริษัทจึงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมถึงกฎหมาย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัทได้กำหนดนโยบายการป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อให้พนักงานของบริษัทใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และกฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบาย

คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่อนุมัตินโยบาย AML/CTPF โดยให้ความสำคัญต่อการป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมถึงกฎหมาย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และกฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

พนักงาน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ ระเบียบปฏิบัติ คำสั่ง และคู่มือปฏิบัติงานของบริษัท รวมถึงกฎหมาย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และกฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ ดังนี้

  • จัดทำและทบทวนนโยบาย AML/CTPF เสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
  • กํากับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย AML/CTPF และมีพนักงานระดับผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานนั้น
  • เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้และคำแนะนำแก่พนักงานเพื่อให้พนักงานเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามกฎหมาย AML/CTPF ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสื่อความหรืออบรมให้ความรู้พนักงาน รวมทั้งติดตามและแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงกฎหมาย AML/CTPF ต่อพนักงาน ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการบริษัท
  • ติดตามและตรวจสอบรายการทางบัญชีและธุรกรรมของลูกค้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปฏิบัติผิดกฎหมายด้าน AML/CTPF
  • ติดตามดูแลให้พนักงานมีการปฏิบัติงานตามกฎหมาย AML/CTPF
  • เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (“สำนักงาน ปปง.”)

3. การรับลูกค้า

3.1 บริษัทมีกระบวนการสร้างหรือปฏิเสธความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมกับลูกค้า ตัวแทน คู่ค้า และผู้ดำเนินการแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท
3.2 บริษัทปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมกับลูกค้า ตัวแทน คู่ค้า และผู้ดำเนินการแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปกปิดชื่อจริงใช้ชื่อแฝง หรือใช้ชื่อปลอม
3.3 บริษัทปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมกับลูกค้า ตัวแทน คู่ค้า และผู้ดำเนินการแทนที่ไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเอกสาร หลักฐานการแสดงตน หรือไม่ให้ข้อมูลสำหรับใช้ในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หรือไม่สามารถตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าได้
3.4 บริษัทปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมกับบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อซึ่งมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (UN Sanction List) หรือบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อที่ศาลได้พิจารณาและมีคำสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งได้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลลูกค้ากับรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
3.5 บริษัทปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมกับธนาคารที่ไม่มีหลักแหล่ง (shell bank)

4. การรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD)

บริษัทจัดให้ลูกค้าแสดงตนทุกครั้งก่อนการสร้างความสัมพันธ์หรือการทำธุรกรรม รวมถึงระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าตามกฎหมาย พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และกฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(1) บริษัทตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงด้านการ ฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของลูกค้า
(2) บริษัทมีการนำข้อมูลลูกค้าและผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้ามาตรวจสอบกับบัญชีรายชื่อที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฟอกเงินตามที่กฎหมายกำหนด บัญชีรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดที่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และบัญชีรายชื่อประเภทใดก็ตามที่ประกาศโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในอนาคต รวมถึงฐานบัญชีรายชื่อที่มีความเสี่ยงด้าน AML/CTPF เพิ่มเติมจากผู้ให้บริการภายนอก
อีกทั้ง ต้องนำข้อมูลข้างต้นมาตรวจสอบถึงอำนาจการควบคุม กำกับดูแลและผูกพันนิติบุคคลหรือบุคคลที่มีการตกลงทางกฎหมาย รวมทั้งให้ระบุบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีตำแหน่งบริหารระดับสูงด้วย

5. การบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

บริษัทกำหนดมาตรการป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง (Risk-based approach) ตามแนวทางมาตรฐานสากล

6. การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

บริษัทกำหนดให้มีการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ดังนี้
(1) ปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์และการทำธุรกรรมกับบุคคลที่ถูกกำหนด รวมถึงระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกกำหนด หรือของผู้กระทำการแทนหรือตามคำสั่งของผู้นั้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม กิจการภายใต้การควบคุมของบุคคลที่ถูกกำหนด และผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของบุคคลที่ถูกกำหนดก่อนสร้างความสัมพันธ์ ในระหว่างความสัมพันธ์ และภายหลังยุติความสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้าของบริษัทภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ปปง. กำหนด
(2) รายงานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกระงับการดำเนินการกับทรัพย์สินให้สำนักงาน ปปง. ทราบภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ปปง. กำหนด
(3) รายงานข้อมูลผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นลูกค้าของบริษัท ซึ่งอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด หรือผู้ที่มีหรือเคยมีการทำธุรกรรมกับผู้นั้นให้สำนักงาน ปปง. ทราบภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ปปง. กำหนด
(4) กำหนดมาตรการที่เหมาะสมหรือจำเป็นในการป้องกันมิให้มีการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

7. การรายงานธุรกรรม

บริษัทมีการรายงานธุรกรรมตามที่สำนักงาน ปปง. กำหนด เช่น ธุรกรรมที่น่าสงสัย หรือผิดปกติ หรือธุรกรรมอื่นใด (ถ้ามี)

8. การฝึกอบรม

บริษัทกำหนดให้พนักงานต้องได้รับการฝึกอบรมความรู้ด้านการป้องกันการฟอกเงินการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยให้เป็นไปตามแนวทางที่สำนักงาน ปปง. และบริษัทกำหนด

9. การเก็บรักษาข้อมูล

บริษัทมีการจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐานตามระยะเวลาที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ของสำนักงาน ปปง. กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนด ดังนี้
(1) ข้อมูล เอกสาร และหลักฐานการแสดงตนหรือเอกสารหลักฐานอื่นใดของลูกค้า ตัวแทน คู่ค้า และผู้ดำเนินการแทน ที่ใช้ในการทำความรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ตัวแทน คู่ค้า และผู้ดำเนินการแทน
(2) ข้อมูล เอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรายงานการทำธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

10. การร่วมใช้ข้อมูลระหว่างกัน

กรณีมีการร่วมใช้ข้อมูลระหว่างกัน ต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ หรือคู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการในการดำเนินการดังกล่าวและวิธีการในการรักษาความลับจากการร่วมใช้ข้อมูล

11. การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน

บริษัทกำหนดให้ฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระทำหน้าที่ประเมินความเพียงพอของการควบคุมภายในและตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของบริษัท และรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

12. การจัดทำคำสั่ง ระเบียบ และคู่มือปฏิบัติงาน

บริษัทมีการจัดทำระเบียบ คำสั่งการ และคู่มือปฏิบัติงานตามแนวทางปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์ของสำนักงาน ปปง. สำนักงาน ก.ล.ต. กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ อีกทั้งบริษัทได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับ AML/CTPF เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามนโยบายฉบับนี้ และกฎเกณฑ์ทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ฉบับแก้ไขล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2568