ข้อมูล Uniswap

เขียนโดย orbix • หมวดหมู่ คริปโท 101 • 23 ก.พ. 2567 • เวลาอ่าน 4 นาที

Coin of the week | รู้จักกับเหรียญ Uniswap (UNI)

ข้อมูลเกี่ยวกับ Uniswap

UniSwap เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจที่เรียกว่า Decentralized Exchange (DEX) ทำงานบนระบบ Ethereum Blockchain ผู้ใช้งานนั้นสามารถมาทำการ ซื้อ-ขาย เหรียญที่เป็นมาตรฐาน ERC-20 เช่น Ethereum (ETH) ได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลาง โดยมีค่าธรรมเนียมเป็นเหรียญ ETH 

ผู้ก่อตั้ง

ผู้ก่อตั้ง UniSwap คือ Hayden Adams อดีตวิศวกรเครื่องกลของ Siemens ที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเหรียญมาจากผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum, Vitalik Buterin 

จุดเด่นและความน่าสนใจ

UniSwap ทำงานบน Ethereum Blockchain ใช้ระบบของ Smart Contract 2 ประเภท คือ Exchange Contract และ Factory Contract  โดยทั้ง 2 นี้คือโปรแกรมอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ Factory Smart Contract จะใช้เพื่อเพิ่มโทเค็นใหม่ให้กับแพลตฟอร์มและ Exchange Smart Contract จะอำนวยความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนโทเค็นทั้งหมด 

UniSwap ยังใช้ Automated Market Maker (AMM) สำหรับกระบวนการจับคู่ราคา โดยขั้นตอนจะเป็นการ Swap เหรียญจากเหรียญหนึ่งไปยังอีกเหรียญหนึ่ง โดยแบบไม่มีตัวกลาง ด้วย Smart Contract ซึ่ง

เหรียญคริปโตที่ใช้จะต้องเป็นเหรียญที่สามารใช้งานบน ERC-20 หรือ ETH เท่านั้น

การใช้งาน UNI

เหรียญ UNI เป็น Governance Token ของแพลตฟอร์ม UniSwap  โดยทางแพลตฟอร์มทำการจ่ายเหรียญ UNI ให้กับผู้ที่เคยใช้บริกาแพลตฟอร์มผ่านทาง Airdrop และผู้ที่ถือครองเหรียญ UNI จะได้รับสิทธิ์ในการกำหนดทิศทางของแพลตฟอร์มให้กับผู้ถือเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงหรือการโหวตในข้อเสนอต่าง ๆได้

Roadmap และ อนาคตของ Uni

Uniswap ได้มีการอัปเดตครั้งใหญ่เป็น Uniswap V2 ซึ่งมีฟังก์ชันเด่น ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น 

  • สามารถแลกเหรียญ ERC20 กับ ERC20 โดยไม่ต้องใช้ ETH เป็นค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยน 
  • นำระบบ Oracle เข้ามาใช้ในการป้อนข้อมูลต่างๆ เรื่องของราคาให้กับแพลตฟอร์ม
  • Flash Swap หรือการยืมโทเค็น ERC20 เพื่อผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้บริการใด ๆ ก็ได้ที่ต้องการ 

ในปี 2022 เอง ทาง Uniswap ก็ได้มีการอัพเดตเป็น V3 ซึ่งสิ่งที่เพิ่มเข้ามา เช่น

  • Concentrated liquidity: ทำให้ผู้ให้บริการสภาพคล่อง(Liquidity Provider) แต่ละรายสามารถกำหนดว่าจะจัดสรรทุนให้กับช่วงราคาที่ต้องการจะขายช่วงราคาไหน
  • Multiple fee tiers: ช่วยให้ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างกันสำหรับการเลือกความเสี่ยงในแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้เองตัว V4 ก็กำลังอยู่ในการพัฒนาอยู่อีกด้วย

บทความถัดไป

How to register on orbix

orbix

Content Writer

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูล Cosmos
คริปโท 101

ข้อมูล Cosmos

ฉายา “Internet of Blockchain”

orbix

26 ธ.ค. 2566

2 นาที